Item 07 - ย้ายม้าทรงอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภาพที่ 5

Original Digital object not accessible

Identity area

Reference code

SILPA SCULP-01-04-07

Title

ย้ายม้าทรงอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภาพที่ 5

Date(s)

  • 2494 (Creation)

Level of description

Item

Extent and medium

ภาพถ่าย จำนวน 1 ภาพ

Context area

Name of creator

(2435-2505)

Biographical history

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีนามเดิมว่า คอร์ราโด เฟโรจี (Professor Corrado Feroci) เป็นชาวนครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ณ ตำบล San Giovanni บิดาชื่อ นาย Artudo Feroci และมารดาชื่อ นาง Santina Feroci มีอาชีพค้าขาย เข้าศึกษาในระดับชั้นประถมเมื่อปี พ.ศ. 2441 ภายหลังจบหลักสูตร 5 ปี จึงเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมอีก 5 ปี จากนั้นจึงเข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราชวิทยาลัยศิลปะแห่งนคร ฟลอเรนซ์ จบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปี ในขณะที่มีอายุ 23 ปี และได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้น ช่างเขียน ซึ่งต่อมาได้สอบคัดเลือกรับปริญญาบัตรเป็นศาสตราจารย์ มีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ วิจารณ์ศิลป์และปรัชญา โดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรม

ศาสตราจารย์คอร์ราโดสมรสกับนางแฟนนี วิเวียนนี มีบุตรสาวชื่อ อิซซาเบลล่า และสืบเนื่องจากปี พ.ศ. 2466 ท่านได้ชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรปและยังมีความต้องการแสวงหาสถานที่ปฏิบัติงานแห่งใหม่ ประกอบกับในช่วงเวลานั้นซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ต้องการบุคลากรที่เชี่ยวชาญในด้านศิลปะตะวันตกเพื่อที่จะเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นในแผ่นดินไทยและทำการฝึกสอนช่างไทยให้มีความสามารถในการสร้างงานประติมากรรมแบบตะวันตกได้ ทางรัฐบาลอิตาลีจึงได้ยื่นข้อเสนอโดยการส่งคุณวุฒิและผลงานของศาสตราจารย์คอร์ราโดให้สยามพิจารณา โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นบุคคลสำคัญในการคัดเลือกศาสตรจารย์คอร์ราโดให้มาปฏิบัติงานในสยาม ด้วยเหตุนี้ศาสตราจารย์คอร์ราโดจึงเดินทางสู่แผ่นดินสยามพร้อมกับภรรยาและบุตรสาวโดยทางเรือ เพื่อเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร กระทรวงวัง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 ขณะมีอายุได้ 32 ปี โดยได้รับเงินเดือน เดือนละ 800 บาท ค่าเช่าบ้าน 80 บาท

ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภา ได้รับเงินเดือนเดือนละ 900 บาท ต่อมาได้ย้ายมาเป็นช่างปั้นสังกัดอยู่ในกองประณีตศิลปกรรม กรมศิลปากร กระทรวงธรรมการ ท่านได้วางหลักสูตรอบรมกว้างๆ และทำการสอนให้แก่ผู้ที่สนใจวิชาประติมากรรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ผู้ได้รับการอบรมรุ่นแรกๆ ส่วนมากสำเร็จการศึกษามาจากโรงเรียนเพาะช่าง ได้แก่ สาย ประติมาปกร, สุข อยู่มั่น, ชิ้น ชื่นประสิทธิ์, สวัสดิ์ ชื่นมะนา และแช่ม แดงชมพู ผู้ที่มาอบรม ฝึกงานกับศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมทั้งสิ้นเพราะทางราชการมีนโยบายส่งเสริมช่างปั้นช่างหล่อ ให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน ซึ่งต่อมาบุคคลเหล่านี้ได้มาเป็นผู้ช่วยช่างและบางคนก็เข้ารับราชการช่วยแบ่งเบาภาระงาน และช่วยทำให้กิจการปั้นหล่อของกรมศิลปากรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว

เมื่อทางราชการเห็นความสำคัญของการศึกษาศิลปะตามแนวในปัจจุบัน จึงได้ขอให้ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้วางหลักสูตรการศึกษาให้มีมาตรฐานเดียวกันกับโรงเรียนศิลปะในยุโรป

ในปี พ.ศ. 2491 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้นำศิลปะไทยไปแสดง ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปีนี้ท่านได้เดินทางกลับไปประเทศอิตาลีและเดินทางกลับมาประเทศไทยอีกครั้งในต้นปี พ.ศ. 2492 โดยกลับมาใช้ชีวิตเป็นครู สั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาทางด้านศิลปะอยู่ที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม ในปี พ.ศ. 2496 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับหน้าที่อันมีเกียรติคือ เป็นประธานกรรมการสมาคมศิลปะแห่งชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับสมาคมศิลปะนานาชาติ (International Association of Art) ในปี พ.ศ. 2497 ได้เป็นผู้แทนศิลปินไทยไปร่วมประชุมศิลปินระหว่างชาติครั้งแรกที่กรุงเวนิช ประเทศอิตาลี และในปี พ.ศ. 2503 การประชุมใหญ่ครั้งที่ 3 ที่กรุงเวียนนาประเทศออสเตรีย ท่านได้นำเอกสารผลงานศิลปะและบทความศิลปะชื่อ ศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย (Contemporary Art in Thailand) ไปเผยแพร่ในการประชุมด้วย ทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยดีขึ้น และนับเป็นคนแรกที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปะระหว่างศิลปินไทยและศิลปินต่างประเทศขึ้น

ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี แต่งงานใหม่กับนางมาลินี เคนนี่ ในปีพ.ศ. 2502 แต่ไม่ได้มีบุตรด้วยกัน โดยยังคงทุ่มเทเวลาและอุทิศชีวิตให้กับวงการศิลปะไทยเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2505 ท่านได้ล้มป่วยลงด้วยอาการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก่อนจะถึงแก่อนิจกรรมในวันที่14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวภายหลังการเข้ารับการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ สิริอายุได้ 69 ปี 241 วัน โดยมีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่17 มกราคม พ.ศ. 2506 ซึ่งอัฐิถูกแยกไปสามส่วนด้วยกันคือที่สุสานชิมิเตโร เดญลี อัลลอรี เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ส่วนที่สองถูกบรรจุในอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ณ ลานศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ และส่วนที่สามถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป พีระศรี อนุสรณ์ ในกรมศิลปากร

Archival history

Immediate source of acquisition or transfer

Content and structure area

Scope and content

ภาพกำลังเคลื่อนย้ายม้าทรงอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจากหน้าประตูกรมศิลปากรไปยังวงเวียนใหญ่

Appraisal, destruction and scheduling

Accruals

System of arrangement

Conditions of access and use area

Conditions governing access

ปฏิบัติตามระเบียบมหาวิทยาลัยศิลปากรว่าด้วยการใช้หอสมุด มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2562

Conditions governing reproduction

ห้ามนำไปดัดแปลงหรือทำซ้ำเพื่อการจำหน่าย

Language of material

Script of material

Language and script notes

Physical characteristics and technical requirements

Finding aids

Allied materials area

Existence and location of originals

ไม่ระบุข้อมูลสถานที่เก็บเอกสารต้นฉบับ

Existence and location of copies

ประสพชัย แสงประภา

Related units of description

Related descriptions

Notes area

Alternative identifier(s)

Access points

Name access points

Genre access points

Description control area

Description identifier

Institution identifier

Rules and/or conventions used

Status

Level of detail

Dates of creation revision deletion

Language(s)

Script(s)

Sources

Digital object (Master) rights area

Digital object (Reference) rights area

Digital object (Thumbnail) rights area

Accession area