Showing 41 results
Authority recordศาสตราจารย์หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์
- Person
- 2440 - 2529
- Person
- 2435-2505
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีนามเดิมว่า คอร์ราโด เฟโรจี (Professor Corrado Feroci) เป็นชาวนครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ณ ตำบล San Giovanni บิดาชื่อ นาย Artudo Feroci และมารดาชื่อ นาง Santina Feroci มีอาชีพค้าขาย เข้าศึกษาในระดับชั้นประถมเมื่อปี พ.ศ. 2441 ภายหลังจบหลักสูตร 5 ปี จึงเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมอีก 5 ปี จากนั้นจึงเข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราชวิทยาลัยศิลปะแห่งนคร ฟลอเรนซ์ จบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปี ในขณะที่มีอายุ 23 ปี และได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้น ช่างเขียน ซึ่งต่อมาได้สอบคัดเลือกรับปริญญาบัตรเป็นศาสตราจารย์ มีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ วิจารณ์ศิลป์และปรัชญา โดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรม
ศาสตราจารย์คอร์ราโดสมรสกับนางแฟนนี วิเวียนนี มีบุตรสาวชื่อ อิซซาเบลล่า และสืบเนื่องจากปี พ.ศ. 2466 ท่านได้ชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรปและยังมีความต้องการแสวงหาสถานที่ปฏิบัติงานแห่งใหม่ ประกอบกับในช่วงเวลานั้นซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ต้องการบุคลากรที่เชี่ยวชาญในด้านศิลปะตะวันตกเพื่อที่จะเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นในแผ่นดินไทยและทำการฝึกสอนช่างไทยให้มีความสามารถในการสร้างงานประติมากรรมแบบตะวันตกได้ ทางรัฐบาลอิตาลีจึงได้ยื่นข้อเสนอโดยการส่งคุณวุฒิและผลงานของศาสตราจารย์คอร์ราโดให้สยามพิจารณา โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นบุคคลสำคัญในการคัดเลือกศาสตรจารย์คอร์ราโดให้มาปฏิบัติงานในสยาม ด้วยเหตุนี้ศาสตราจารย์คอร์ราโดจึงเดินทางสู่แผ่นดินสยามพร้อมกับภรรยาและบุตรสาวโดยทางเรือ เพื่อเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร กระทรวงวัง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 ขณะมีอายุได้ 32 ปี โดยได้รับเงินเดือน เดือนละ 800 บาท ค่าเช่าบ้าน 80 บาท
ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภา ได้รับเงินเดือนเดือนละ 900 บาท ต่อมาได้ย้ายมาเป็นช่างปั้นสังกัดอยู่ในกองประณีตศิลปกรรม กรมศิลปากร กระทรวงธรรมการ ท่านได้วางหลักสูตรอบรมกว้างๆ และทำการสอนให้แก่ผู้ที่สนใจวิชาประติมากรรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ผู้ได้รับการอบรมรุ่นแรกๆ ส่วนมากสำเร็จการศึกษามาจากโรงเรียนเพาะช่าง ได้แก่ สาย ประติมาปกร, สุข อยู่มั่น, ชิ้น ชื่นประสิทธิ์, สวัสดิ์ ชื่นมะนา และแช่ม แดงชมพู ผู้ที่มาอบรม ฝึกงานกับศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมทั้งสิ้นเพราะทางราชการมีนโยบายส่งเสริมช่างปั้นช่างหล่อ ให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน ซึ่งต่อมาบุคคลเหล่านี้ได้มาเป็นผู้ช่วยช่างและบางคนก็เข้ารับราชการช่วยแบ่งเบาภาระงาน และช่วยทำให้กิจการปั้นหล่อของกรมศิลปากรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว
เมื่อทางราชการเห็นความสำคัญของการศึกษาศิลปะตามแนวในปัจจุบัน จึงได้ขอให้ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้วางหลักสูตรการศึกษาให้มีมาตรฐานเดียวกันกับโรงเรียนศิลปะในยุโรป
ในปี พ.ศ. 2491 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้นำศิลปะไทยไปแสดง ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปีนี้ท่านได้เดินทางกลับไปประเทศอิตาลีและเดินทางกลับมาประเทศไทยอีกครั้งในต้นปี พ.ศ. 2492 โดยกลับมาใช้ชีวิตเป็นครู สั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาทางด้านศิลปะอยู่ที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม ในปี พ.ศ. 2496 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับหน้าที่อันมีเกียรติคือ เป็นประธานกรรมการสมาคมศิลปะแห่งชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับสมาคมศิลปะนานาชาติ (International Association of Art) ในปี พ.ศ. 2497 ได้เป็นผู้แทนศิลปินไทยไปร่วมประชุมศิลปินระหว่างชาติครั้งแรกที่กรุงเวนิช ประเทศอิตาลี และในปี พ.ศ. 2503 การประชุมใหญ่ครั้งที่ 3 ที่กรุงเวียนนาประเทศออสเตรีย ท่านได้นำเอกสารผลงานศิลปะและบทความศิลปะชื่อ ศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย (Contemporary Art in Thailand) ไปเผยแพร่ในการประชุมด้วย ทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยดีขึ้น และนับเป็นคนแรกที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปะระหว่างศิลปินไทยและศิลปินต่างประเทศขึ้น
ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี แต่งงานใหม่กับนางมาลินี เคนนี่ ในปีพ.ศ. 2502 แต่ไม่ได้มีบุตรด้วยกัน โดยยังคงทุ่มเทเวลาและอุทิศชีวิตให้กับวงการศิลปะไทยเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2505 ท่านได้ล้มป่วยลงด้วยอาการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก่อนจะถึงแก่อนิจกรรมในวันที่14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวภายหลังการเข้ารับการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ สิริอายุได้ 69 ปี 241 วัน โดยมีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่17 มกราคม พ.ศ. 2506 ซึ่งอัฐิถูกแยกไปสามส่วนด้วยกันคือที่สุสานชิมิเตโร เดญลี อัลลอรี เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ส่วนที่สองถูกบรรจุในอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ณ ลานศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ และส่วนที่สามถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป พีระศรี อนุสรณ์ ในกรมศิลปากร
ศุภโยคเกษม, พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า
- Person
- 2419 - 2476
- Person
- 2462 - 2529
- Person
- 2465-2552
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
- Person
- 2443 - 2538
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
- Person
- 2406 - 2490
- Corporate body
- 2459 - ปัจจุบัน